ATP สารให้พลังงานขับเคลื่อนพืช-เพิ่มผลผลิต

Thirasak Chuchoet • April 25, 2025

"เอทีพี (ATP)" สารให้ให้พลังงานขับเคลื่อนพืช-เพิ่มผลผลิต

Sorbitol sugar กุญแจสำคัญสู่พลังงาน ATP เพื่อการพัฒนาดอกและผลทุเรียนที่สมบูรณ์และลดการหลุดร่วง
ATP​ กุญแจสำคัญสู่ผลผลิตคุณภาพ

    ATP หรือ “เอทีพี” ย่อมาจาก อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate) เป็นสารชีวเคมีที่กักเก็บและปลดปล่อยให้พลังงานสูงที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชทุกชนิด โดยเฉพาะทุเรียน “ราชาแห่งผลไม้” การได้มาซึ่งผลทุเรียนที่มีคุณภาพนั้น ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่อย่างพิถีพิถัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรื่องของพลังงานที่จำเป็นต่อการเจริญพัฒนาของดอกและผล แม้ในธรรมชาติทุเรียนสามารถสังเคราะห์สารตั้งต้นในการสร้างพลังงาน ATP ได้เอง แต่ในสภาวะอากาศที่แปรปรวนผันแปรตลอดเวลา กิจกรรมการสร้างสารตั้งต้นของพลังงาน ATP อาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป หรือมีไม่เพียงพอและส่งผลต่อการผลิตทุเรียนคุณภาพและการเพิ่มผลผลิต

ภาพ: โครงสร้างทางเคมีของสาร ATP (Adenosine Triphosphate)

ภาพ: การให้พลังงานของ ATP โดยมีน้ำเป็นตัวช่วยปลดปล่อยพลังงานออกมา 7.3 กิโลแคลอรี่ (-7.3 kcal/mol) ทำให้ได้สารใหม่คือ ADP และการเติมหมู่ฟอสเฟต (Pi) กับโปรตอน (H) เพื่อสร้าง ATP ขึ้นใหม่

ภาพ: อวัยวะระดับเซลล์ที่ใช้สร้างพลังงาน ATP ของพืช (ขวาบน) อวัยวะคลอโรพลาสต์ สร้าง ATP ขึ้นมาเพื่อใช้เกี่ยวกับการสังเคราะห์แสงให้ได้น้ำตาล, (ขวาล่าง) อวัยวะไมโตคอนเดรีย มีบทบาทสลายน้ำตาลให้ได้พลังงาน ATP ผ่านกระบวนการหายใจ เพื่อใช้ดำรงชีวิตและเจริญพัฒนา ตลอดจนให้ผลผลิต

ภาพ: เปรียบเทียบกระบวนการสร้างพลังงานของพืชจาก 2 อวัยวะระดับเซลล์, (ภาพซ้าย) คลอโรพลาสต์ สร้างพลังงาน ATP เพื่อใช้สังเคราะห์แสง, (ภาพขวา) ไมโตคอนเดรีย สร้างพลังงาน ATP เพื่อแจกจ่าย

ภาพ: การสังเคราะห์แสงโดยอวัยวะระดับเซลล์ที่ชื่อ "คลอโรพลาสต์" ภายในมีสารสีเขียว "คลอโรฟิลล์" ทำหน้าที่เก็บเกี่ยวพลังงานจากแสง โดยใช้น้ำและก็าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบสร้างน้ำตาล และคายออกซิเจนออกมา

ภาพ: อวัยวะไมโตคอนเดรีย ที่ใช้ในการหายใจระดับเซลล์ เพื่อสร้างพลังงานในการดำรงชีวิต เจริญเติบโต และให้ผลผลิต

Sugar จากการสังเคราะห์แสงสู่การผลิต ATP

   Sugar หรือน้ำตาล ผลิตผลจากการสังเคราะห์แสงของพืช เกิดขึ้นที่ใบแก่ที่ได้รับแสงอย่างเพียงพอ โดยอาศัยน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศแพร่เข้าสู่พืชผ่านปากใบและเปลี่ยนเป็นน้ำตาลไตรโอส (น้ำตาล​ 3 คาร์บอน: 3C) ผ่านขั้นตอนต่างๆ ภายในคลอโรพลาสต์ ซึ่งเป็นส่วนสีเขียวของพืช ดังนี้

    1. ปฏิกิริยาแสง (light reaction)

        คลอโรฟิลล์เก็บเกี่ยวพลังงานแสงและถ่ายทอดอิเล็กตรอน (e¯)​ ออกจากคลอโรฟิลล์ โดยมี NADH มารับอิเล็กตรอนเปลี่ยนเป็น NADPH ขณะเดียวกันน้ำจะถูกสลายตัวโดยมีแสง แมงกานีส (Mn)​ และคลอไรด์ (Cl¯)​ เป็นตัวกระตุ้นการสลาย (การสลายน้ำนี้เรียกว่า​ photolysis) ได้โปรตอน (H)​ กับอิเล็กตรอน​ (e¯)​ ซึ่ง e¯ ​จะเข้าไปแทนที่ e¯ ของคลอโรฟิลล์ที่ถ่ายทอดออกไป

        ผลิตผลสุดท้ายจะได้สารถ่ายทอดอิเล็กตรอน NADPH และสารให้พลังงาน ATP เพื่อใช้ในขั้นตอนปฏิกิริยาคาร์บอน

    2. ปฏิกิริยาคาร์บอน (carbon reaction)

        ปฏิกิริยาคาร์บอน เป็นขั้นตอนสร้างน้ำตาล 3 คาร์บอน​ (3C) ก่อนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล​ 6 คาร์บอน (6C) โดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) เป็นสารตั้งต้น เรียกว่า “การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์” ซึ่งใช้ NADPH และ ATP จากปฏิกิริยาแสงและเกิดขึ้นวนเป็นวัฏจักร เรียกว่า “วัฏจักรคาลวิน” ทั้งนี้ 1 รอบวัฏจักรคาลวินจะได้น้ำตาล 3 คาร์บอน 1 โมเลกุล

        ดังนั้น โดยสมการ 2 รอบวัฏจักรคาลวินจะได้น้ำตาล 3​ คาร์บอน​ 2 โมเลกุล แล้วจึงนำมาสร้างน้ำตาล 6 คาร์บอน (glucose : 6C)

        ผลิตผลจากการสังเคราะห์แสงได้น้ำตาล 6 คาร์บอน เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตมากกว่า 90% ของพืช อีกราว 10% ประกอบด้วยกรดอะมิโน 4-5% และธาตุอาหารพืช 5-6% (โดยประมาณ) ขึ้นอยู่กับชนิดพืช นอกจากนี้น้ำตาลยังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างพลังงาน ATP โดยผ่านกระบวนการหายในของพืชในระดับเซลล์

ภาพ: กระบวนการสังเคราะห์แสง โดยแบ่งออกเป็น 2 ปฏิกิริยา คือ 1) ปฏิกิริยาแสง เป็นการดูดกลืนคลื่นแสงเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน ATP และสารถ่ายทอดอิเล็กตรอน NADPH และ 2) ปฏิกิริยาคาร์บอน หรือวัฏจักรคาลวิน เดิมเคยเรียกว่า "ปฏิกิริยามืด" เป็นการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นน้ำตาล

ซอร์บิทอล พลังงานทาง (ต้อง) เลือกสำหรับทุเรียน

     ผลิตภัณฑ์สารไบโอสติมูแลนท์ หรือสารกระตุ้นเชิงชีวภาพ ซูก้าร์บีท เป็นน้ำตาลทางด่วนซอร์บิทอลเข้มข้น​ 30% (Sorbitol​ 30%) จัดเป็นสารตั้งต้นที่ใช้สร้างพลังงาน ATP ของพืชอีกชนิดหนึ่ง เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์​ 6 คาร์บอน​ 

     ในภาวะปกติพืชจะกักเก็บน้ำตาลกลูโคสส่วนหนึ่งในรูปของซอร์บิทอลและบางครั้งก็ใช้ซอร์บิทอลในการลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ ที่เป็นผู้ใช้สารอาหาร (Sink) เช่น ดอก ผล รากและใบอ่อน รวมถึงใช้เป็นสารสื่อสัญญาณต่างๆ ภายในพืช เช่น ใช้แจ้งเตือนการรุกรานของศัตรูพืช โรคพืช หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นเปิดระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันและระบบป้องกันภัย อีกทั้งซอร์บิทอลเป็นน้ำตาลในรูปที่เชื้อราไฟท็อปธอร่าหรือเชื้อราหลายชนิด​ ไม่สามารถนำไปใช้เป็นสารอาหารได้ เนื่องจากเชื้อราไม่มีเอนไซม์ที่ใช้ย่อยซอร์บิทอล

    การฉีดพ่น​ ซูก้าร์บีท​ อัตรา​ 10-30 ซีซี.ต่อน้ำ​ 20​ ลิตร​ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและระยะการเจริญเติบโต​ของพืช​ โดยพ่นทุก​ 7-14 วัน​ ครั้ง​ 

    ซูก้าร์บีท​ สามารถพ่นได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืชและช่วงวิกฤตของพืชควรเพิ่มความถี่ในการฉีดพ่นเป็นทุก 7-9 วัน

  • Slide title

    Write your caption here
    Button
  • Slide title

    Write your caption here
    Button
  • Slide title

    Write your caption here
    Button
  • Slide title

    Write your caption here
    Button
  • Slide title

    Write your caption here
    Button

ซูก้าร์บีท น้ำตาลซอร์บิทอลเข้มข้น

ภาพ: กระบวนการหายใจระดับเซลล์ในไมโตคอนเดรีย ผ่าน 4 ขั้นตอนคือ 1) ไกลโคไลซีส 2) ไพรูเวทออกซิเดชั่น 3) วัฏจักรเครบส์ หรือวัฏจักรกรดซิตริก และ 4) การถ่ายทอดอิเล็กตรอน เพื่อสร้างพลังงาน ATP โดยมีออกซิเจนมารับอิเล็กตรอนเป็นตัวสุดท้าย จึงเรียกว่า การหายใจระดับเซลล์

เจาะลึกกระบวนการสร้างพลังงาน ATP จากซอร์บิทอล

    ล้วงลึกกระบวนการสร้างพลังงาน ATP จากซอร์บิทอลผ่านกระบวนการหายใจระดับเซลล์พืช (cellular respiration) ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญพัฒนาของดอกและผลอ่อนทุเรียน เนื่องจากเป็นช่วงที่พืชต้องการพลังงานสูงเพื่อการพัฒนาที่สมบูรณ์ของรังไข่-เกสร การผสมเกสร การแบ่งเซลล์ ขยายขนาดและกิจกรรมเมตาบอลิซึมต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะดอกและผลอ่อน

    ทุเรียนและพืชอื่นๆ สามารถเปลี่ยนซอร์บิทอลเป็นพลังงาน ATP ได้ ผ่านกระบวนการหายใจระดับเซลล์ที่ซับซ้อน 4 ขั้นตอน ดังนี้

    ขั้นตอนที่ 1: ไกลโคไลซีส (glycolysis)

        กระบวนการ “ไกลโคไลซีส” เป็นการสลายซอร์บิทอล (น้ำตาล 6 คาร์บอน) เป็นสารไพรูเวต (3 คาร์บอน​) จำนวน​ 2 ตัว เพื่อนำส่งไปขั้นตอนที่ 2 และได้พลังงาน 2 ATP พลังงานส่วนนี้พืชนำไปใช้ในการเจริญพัฒนาและได้ 2 NADH เพื่อนำไปสร้างพลังงาน ATP ในขั้นตอนที่ 4 

        สำหรับขั้นตอนไกลโคไลซีสจะมีขั้นตอนย่อย 10 ขั้นตอน​ คือ

        ขั้นตอนย่อยที่ 1: เริ่มจากเปลี่ยน “กลูโคส” เป็น “กลูโคส-6-ฟอสเฟต (G6P)” โดยเอนไซม์เฮกโซไคเนส

        ขั้นตอนย่อยที่ 2: เปลี่ยน “กลูโคส-6-ฟอสเฟต” เป็น “ฟรุกโตส-6-ฟอสเฟต (F6P)” โดยเอนไซม์ฟอสโฟกลูโคไอโซเมอเรส

        สำหรับซอร์บิทอล ขั้นตอนย่อยที่ 1 เริ่มจากเปลี่ยน “ซอร์บิทอล” เป็น “ฟรุกโตส” โดยเอนไซม์ซอร์บิทอล ดีไฮโดรจีเนส (SDH), ขั้นตอนย่อยที่ 2 เปลี่ยน “ฟรุกโตส” เป็น “ฟรุกโตส-6-ฟอสเฟต​ (F6P)​” โดยเอนไซม์เฮกโซไคเนส

        ขั้นตอนย่อยที่ 3-10: ทั้งกลูโคสและซอร์บิทอล จะถูกเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เหมือนกัน จนถึงขั้นตอนที่ 10 และได้ผลิตผลเป็นสารไพรูเวต จำนวน​ 2 ตัว, พลังงาน 2 ATP และ NADPH จำนวน​ 2 ตัว

    ขั้นตอนที่ 2: ออกซิไดซ์สารไพรูเวต (Pyruvate oxidation)

        โดยเปลี่ยนสารไพรูเวต​​ 3 คาร์บอน (จากขั้นตอนไกลโคไลซีส) เป็น “อะซีทิลโคเอ” ที่มี​ 2 คาร์บอน เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 พร้อมกับปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และได้ผลิตผลเป็น NADH จำนวน​ 2 ตัว​ แล้วส่ง​ NADH ไปขั้นตอนที่​ 4

    ขั้นตอนที่ 3) วัฏจักรเครบส์ (Krebs cycle)

        วัฏจักรเครบส์ หรือวัฏจักรกรดซิตริก เป็นการเปลี่ยนอะซิทิลโคเอเป็นคาร์บอนไดซ์ออกไซด์โดยสมบูรณ์ (complete oxidation of glucose) ซึ่งจะได้พลังงาน​ 2 ATP​ นำไปใช้เพื่อการเจริญ​เติบโต​ กับ​ NADH​ จำนวน​ 6 ตัวและ​ FADH₂​ จำนวน​ 2 ตัว​ เพื่อส่งต่อไปขั้นตอนที่​ 4

    ขั้นตอนที่ 4) ถ่ายทอดอิเล็กตรอน (e¯) และสร้างพลังงาน ATP

        เป็นการถ่ายทอดอิเล็กตรอน โดยรับอิเล็กตรอนจาก NADH และ FADH₂ จากขั้นตอนที่​ 1-3 ส่งผลให้เกิดการสร้างพลังงาน​ ประมาณ​ 26-28 ATP

    สรุป​ ซอร์บิทอล​ 1 โมเลกุลสามารถให้พลังได้ถึง​ 30-32 ATP ดังนี้ คือ

      1) กระบวนการไกลโคไลซีสในขั้นตอนแรก ได้พลังงาน 2 ATP

      2) วัฏจักรเครบส์ หรือวัฏจักรกรดซิตริกในขั้นตอนที่ 3 ได้พลังงาน 2 ATP

      3) การถ่ายทอดอิเล็กตรอนในขั้นตอนที่ 4 ได้พลังงาน 26-28 ATP

          [เพิ่มเติม] การถ่ายทอกอิเล็กตรอนจะได้พลังงาน ATP เท่ากับ 26 ATP หรือ 28 ATP ขึ้นอยู่กับการขนส่ง NADH 2 ตัว จากกระบวนการไกลโคไลซีส ว่าพืชใช้ระบบขนส่ง (shuttle system) พืชใช้สารตัวใดเป็นตัวรับอิเล็กตรอน

ภาพ: ขั้นตอนไกลโคไลซีส เป็นการสลายน้ำตาล 6 คาร์บอน ให้เป็นสารไพรูเวต 3 คาร์บอน, ขั้นตอนย่อย 1-5 จาก 10 ขั้นตอน

ภาพ: ขั้นตอนไกลโคไลซีส เป็นการสลายน้ำตาล 6 คาร์บอน ให้เป็นสารไพรูเวต 3 คาร์บอน, ขั้นตอนย่อย 6-10 จาก 10 ขั้นตอน, น้ำตาล 6 คาร์บอน จำนวน 1 โมเลกุล ถูกเปลี่ยนเป็นสารไพรูเวต 3 คาร์บอน จำนวน 2 โมเลกุล

ภาพ: วัฏจักรเครบส์ หรือวัฏจักรกรดซิตริก, ในขั้นตอนไพรูเวตออกซิเดชั่น ซึ่งเป็นขั้นตอนเปลี่ยนสารไพรูเวต 3 คาร์บอน เป็นสาร 2 คาร์บอน และส่งสาร 2 คาร์บอนเข้าสู่วัฏจักรเครบส์ เพื่อเปลี่ยนสาร 2 คาร์บอน เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะได้พลังงาน ATP กับสารถ่ายถอดอิเล็กตรอน NADH

ภาพ: การถ่ายทอดอิเล็กตรอน (e¯) ที่บริเวณเยื้อหุ้มไมโตคอนเดรียชั้นใน ในขั้นตอนนี้จะได้สารให้พลังงาน 26-28 ATP และมีออกซิเจนมารับอิเล็กตรอนเป็นตัวสุดท้าย

ATP พลังงานขับเคลื่อนการพัฒนาดอกและผลทุเรียน

    ซูก้าร์บีท เป็นน้ำตาล​แอลกอฮอล์​ซอร์บิทอลเข้มข้น 30% จึงเป็นแหล่งสารให้พลังงานแก่พืชในยามฉุกเฉิน เช่น 

       1. ภาวะเครียดจากแดดแรง​ ร้อนจัด​ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำและพืชคายน้ำน้อย

       2. ภาวะเครียดขาดน้ำ 

       3. ภาวะเครียดน้ำท่วมขัง​ ฝนตกชุก​ ฟ้าปิด​ ดินน้ำขัง 

    ซึ่งภาวะเหล่านี้ก่อให้เกิดการชะงักงันของการลำเลียงน้ำและสารอาหารภายในต้น 

    นอกจากนี้ซูก้าร์บีท​ ยังเป็นสารกระตุ้นเชิงชีวภาพเพิ่มการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิตและส่งเสริมคุณภาพผลผลิต ลดการแข่งขันของผู้ใช้ (Sink) ในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้มากกว่า​หนึ่ง เช่น 

    การแก่งแย่งน้ำตาลของใบอ่อนกับดอกหรือผลอ่อน 

    การแก่งแย่งของดอกหลายรุ่นในต้น 

    ช่วยลดหรือชะลอการหลุดร่วงของดอกและผล 

    ช่วยลดความเป็นพิษของสารบางชนิดที่ฉีดพ่น 

    เพิ่มการดูดซึมธาตุอาหารหรือสารกำจัดศัตรูพืชได้ดียิ่งขึ้น

ATP พลังงานขับเคลื่อนดอกและผลทุเรียน

    การสร้างและพัฒนาของดอก: ATP เป็นแหล่งพลังงานที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์ดอกใหม่ การแบ่งเซลล์ และการพัฒนาโครงสร้างต่างๆ ของดอก เช่น กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย หากขาดพลังงาน ATP ดอกทุเรียนอาจไม่สมบูรณ์ ร่วงหล่นง่าย หรือไม่สามารถผสมเกสรได้

    การผสมเกสรและปฏิสนธิ: ATP เป็นพลังงานที่ใช้ในการงอกของละอองเรณู การเคลื่อนที่ของเกสรเพศผู้ไปยังรังไข่ และการปฏิสนธิ เมื่อการปฏิสนธิสำเร็จ จะนำไปสู่การพัฒนาของผลทุเรียน​

    การเจริญเติบโตของผล: ATP เป็นพลังงานที่จำเป็นต่อการขยายขนาดของเซลล์ผล การสะสมสารอาหารต่างๆ การสร้างเปลือก และการพัฒนาเนื้อทุเรียน หากขาดพลังงาน ATP ผลทุเรียนอาจมีขนาดเล็ก เนื้อน้อย หรือมีรสชาติไม่ดี

การจัดการสวนควบคู่​กับพลังงาน ATP 

    เพื่อให้ได้ผลผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพ นอกจากการฉีดพ่น​ ซูก้าร์บีท​ แล้ว​ ควรมรการจัดการสวนที่เหมาะสมควบคู่​ไปด้วย​ เช่น

    การจัดการน้ำและธาตุอาหารพืชอย่างเหมาะสม​ 

    การควบคุมโรคและแมลง

    การตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่ม​ ให้แสงแดดส่องถึงใบได้อย่างทั่วถึง 

[เพิ่มเติม] 

    NADH ย่อมาจาก nicotinamide adenine dinucleotide (reduced form)

    NADPH ย่อมาจาก​ nicotinamide adenine dinucleotide phosphate (reduced form)

    FADH₂ ย่อมาจาก flavin adenine dinucleotide (reduced form)

กลไกออกฤทธิ์ (Mode of Action) ของยากลุ่ม 19 ทำให้ไรเกิดอาการตื่นตัว ใจเต้นแรง สั่นและความดันขึ้นสูง
By Thirasak Chuchoet April 29, 2025
กลไกออกฤทธิ์ (Mode of Action) ของยากลุ่ม 19 ทำให้ไรเกิดอาการตื่นตัว ใจเต้นแรง สั่นและความดันขึ้นสูงจนนำไปสู่อาการชักกระตุก เป็นอัมพาตและลาโลกแบบไม่สมัครใจ คล้ายเสพยากระตุ้นประสาทเกินขนาด
แจกสูตร ผสมปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบโดยใช้แม่ปุ๋ยดวงตะวันเพชร สูตรสะสมอาหารก่อนเปิดตาดอกและสูตรเบรกใบอ่อน
By Thirasak Chuchoet April 23, 2025
แจกสูตร.!! ผสมปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบโดยใช้แม่ปุ๋ยดวงตะวันเพชร สูตรสะสมอาหารก่อนเปิดตาดอก และสูตรเบรกใบอ่อน-บล็อกใบอ่อน
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.. ระหว่างแมกนีเซียมไนเตรท, แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต หรือแมกคีเลต
By Thirasak Chuchoet April 22, 2025
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.. ระหว่างแมกนีเซียมไนเตรท, แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต หรือแมกนีเซียมคีเลต
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
By Thirasak Chuchoet April 21, 2025
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
More Posts