แคลเซียมคลอไรด์ปุ๋ยร้อนจริงหรือ
แคลเซียมคลอไรด์ปุ๋ยร้อนจริงหรือ.?
การเกิดความร้อนหรือเย็น เมื่อละลายปุ๋ยในน้ำ
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ เมื่อผสมน้ำแล้วทำให้น้ำร้อนขึ้น (ชั่วขณะ) ส่วนปุ๋ยแคลเซียมไนเตรทผสมน้ำทำไมไม่ร้อน.!!

แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium chloride ตัวย่อ CaCl₂)
แคลเซียมคลอไรด์ปุ๋ยคายความร้อน [ เพิ่มการละลายของปุ๋ยตัวอื่นและร้อนชั่วขณะ ไม่ส่งผลกระทบต่อพืช ]
- แคลเซียมคลอไรด์คายความร้อนเมื่อละลายน้ำ การละลายแคลเซียมคลอไรด์ในน้ำจะเกิดการแตกตัวของปุ๋ยแคลเซียม (Ca²⁺) กับ คลอไรด์ (Cl⁻) ออกจากกัน (สลายพันธะไอออนิกที่ยึดแคลเซียมเข้ากับคลอไรด์)
- การแตกตัวของปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ จะเกิดการคายความร้อนเมื่อแคลเซียมและคลอไรด์แยกออกจากกัน
- น้ำร้อนขึ้น การคายความร้อนจากการแตกตัวนี้ ทำให้น้ำได้รับความร้อนและดูดซับความร้อน สักระยะอุณหภูมิน้ำจะลดลง
- น้ำที่ทำละลายปุ๋ยจะล้อมรอบแคลเซียมกับคลอไรด์ที่แยกออกจากกัน เป็นการห่อหุ้มปุ๋ยด้วยน้ำ เรียกว่า ไฮเดรชัน (hydration)
การคายความร้อน
- การแตกตัวหรือสลายพันธะไอออนิกระหว่างแคลเซียมกับคลอไรด์ ใช้พลังงานต่ำกว่าแรงห่อหุ้มของน้ำที่ใช้ล้อมรอบปุ๋ยที่แตกตัวออกมา (intermolecular force)
- เมื่อใช้พลังงานในการแยกแคลเซียมออกจากคลอไรด์น้อยกว่า (Exothermic dissolution) จึงเกิดการปลดปล่อยความร้อนออกมา จึงทำให้อุณหภูมิน้ำเพิ่มขึ้นชั่วคราว
การดูดซับความชื้นของแคลเซียมคลอไรด์
- แคลเซียมคลอไรด์ มีสมบัติดูดความชื้นสูง และปล่อยความร้อน 19.0 กิโลแคลอรี/โมเลกุล ระหว่างการละลาย
ความสามารถละลายในน้ำ
- สามารถละลายได้ 745-908 กรัมในน้ำ 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 20 องศา (ขึ้นอยู่กับสูตรเคมีของปุ๋ย)

แคลเซียมคลอไรด์ ปุ๋ยเกรดผสมอาหาร ใช้สำหรับพ่นและหว่านทางดิน

แคลเซียมไนเตรต หรือ ปุ๋ย 15-0-0 บวก แคลเซียม 18% (Calcium nitrate ตัวย่อ CaNO₃¯)
ปุ๋ยดูดความร้อน [ แคลเซียมไนเตรทไม่คายความร้อนเมื่อละลายน้ำ ]
- การละลายแคลเซียมไนเตรทในน้ำจะเกิดการแตกตัวของปุ๋ยแคลเซียม (Ca²⁺) กับ ไนเตรท (NO₃¯) ออกจากกัน (สลายพันธะไอออนิกที่ยึดแคลเซียมเข้ากับไนเตรท)
- การแตกตัวของปุ๋ยแคลเซียมไนเตรท จะเกิดการดูดความร้อนเมื่อแคลเซียมและไนเตรทแยกออกจากกัน
- น้ำเย็นลง การดูดความร้อนจากการแตกตัวนี้ ทำให้น้ำเย็นตัวลงเนื่องจากน้ำสูญเสียความร้อนที่ดูดซับไว้
- น้ำที่ทำละลายปุ๋ย จะล้อมรอบแคลเซียมกับไนเตรทที่แยกออกจากกัน (hydration)
การดูดความร้อน
- การแตกตัวหรือสลายพันธะไอออนิกระหว่างแคลเซียมกับไนเตรท ใช้พลังงานมากกว่าแรงห่อหุ้มของน้ำที่ใช้ล้อมรอบปุ๋ยที่แตกตัวออกมา (intermolecular force)
- เมื่อใช้พลังงานในการแยกแคลเซียมออกจากไนเตรทมากกว่า (Endothermic dissolution) จึงเกิดการดึงพลังงานความร้อนจากน้ำ (ตามกฎ “เดอ ชาเตอลีเยร์ [Le Chatelier]” ความสามารถละลายเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น) จึงทำให้อุณหภูมิน้ำลดลงชั่วคราว
ความสามารถในการละลายของปุ๋ยไนเตรท [เพิ่มเติม]
- ปุ๋ย 13-0-46 สามารถละลายได้ 316 กรัมในน้ำ 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 20 องศา
- ปุ๋ย 15-0-0 สามารถละลายได้ 1,212-1,290 กรัมในน้ำ 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 20 องศา
- ปุ๋ย 34-0-0 สามารถละลายได้ 1,920 กรัมในน้ำ 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 20 องศา
สรุปคือ ปุ๋ย 13-0-46, 15-0-0 และ 34-0-0 ละลายน้ำดีทุกตัว เมื่ออุณหภูมิน้ำสูงขึ้นการละลายจะเพิ่มขึ้น (แต่ไม่มีความจำเป็นต้องเอาน้ำไปต้ม.. นะครับ)
*อัตราการใช้พ่นทางใบ-ดอกและผล: ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ และแคลเซียมไนเตรท (ปุ๋ย 15-0-0) ใช้อัตรา 100-200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นทุก 7-14 วันครั้ง


