เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี?

Thirasak Chuchoet • April 22, 2025

เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.?

เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.?

        เมื่อจะเลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ระหว่าง แมกนีเซียมไนเตรท (Mg(NO₃)₂), แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต (MgSO₄•7H₂O) และแมกนีเซียมคีเลต (Mg-chelating) เพื่อเร่งใบแก่หรือทำให้ใบพืชเขียวเข้ม จะพิจารณาจากอะไรได้บ้าง.. ไปดู

ปุ๋ยแมกนีเซียมไนเตรท​ 10-0-0

ปุ๋ยแมกนีเซียมไนเตรท​ ; สูตรโครงสร้าง Mg(NO₃)₂

        ปุ๋ยแมกนีเซียมไนเตรท หรือปุ๋ยสูตร​ 10-0-0 + Mg​ 9% เป็นปุ๋ยเกรดละลายน้ำ (G-grade) ใช้ผสมน้ำพ่นทางใบ หว่าน และเป็นปุ๋ยระบบน้ำหรือปุ๋ยน้ำไฮโดรโพนิกส์

        ปุ๋ยแมกนีเซียมไนเตรท มีปริมาณ​ปุ๋ยไนโตรเจน​ (N) ราว 10-11% (โดยมากบนฉลากระบุ 10%) ไม่มีฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม​ (K) เป็นส่วนประกอบ และมีปริมาณแมกนีเซียม​ระบุ 2 รูปแบบ คือ แมกนีเซียม​ออกไซด์​ (MgO) 15-16% หรือ แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ (Mg) ไม่รวมออกไซด์ (O) ซึ่งมีแมกนีเซียม 9-9.5% (ปัจจุบันระเบียบการขึ้นทะเบียนให้ระบุเฉพาะแมกนีเซียม ไม่รวมออกไซด์)

        แมกนีเซียม​ไนเตรท ดวงตะวันเพชร​ ประกอบด้วยไนโตรเจน 10% ในรูปไนเตรท ซึ่งไนเตรทมีสมบัติกระตุ้นการแตกตาดอก เมื่อสัดส่วน C:N เรโช โดยมี C มากกว่า N และพืชสามารถดูดซึมเปลี่ยนเป็นโครงสร้างสารสีเขียวในพืช (คลอโรฟิลล์) ได้รวดเร็วและปลอดภัยกว่าแอมโมเนียม และมีแมกนีเซียม​ละลายน้ำที่เป็นประโยชน์​​ 9% ดังนั้น การเปลี่ยนจากใบระยะเพสลาดเป็นใบแก่จึงทำได้ดี เนื่องจากใบพืชจะมีสีเขียวเพิ่มขึ้นต้องอาศัยสัดส่วนของไนโตรเจน 4 ต่อ 1 แมกนีเซียม

        พ่นแมกนีเซียมไนเตรท ดวงตะวันเพชร เพื่อกระตุ้นตาดอก ใช้อัตรา 200 กรัม ผสมกับปุ๋ยเกล็ด​ 13-0-46 (ปุ๋ยโพแทสเซียม​ไนเตรท สูตร G-grade ดวงตะวันเพชร) อัตรา 1,000-1,500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นบริเวณตำแหน่งเกิดตาดอกในไม้ผลได้ทุกชนิด โดยพ่นต่อเนื่องทุก 5-7 วัน ราว 2-4 ครั้ง หลังสะสมอาหารและต้นพร้อม หรือหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายมีอายุ 75-90 วัน, ควรผสมไฮโดรเมทซีวีด อัตรา 200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตรด้วย

        *ไฮโดรเมทซีวีด  สาหร่ายทะเลสีน้ำตาล สกัดด้วยเอนไซเมติกและสเปรย์ดรายเทคโนโลยี

        หว่านแมกนีเซียมไนเตรท ดวงตะวันเพชร ทางดินกระตุ้นการแตกรากใหม่​ เนื่องจากไนเตรทมีคุณสมบัติคล้ายกลุ่มฮอร์โมนพืช​ และจัดเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต​ จึงส่งเสริมการสร้างรากใหม่ โดยหว่านแมกนีเซียมไนเตรท อัตรา 100-200 กรัม ร่วมกับปุ๋ยไฮทาวเวอร์ 29-9-9 อัตรา 700-1,000 กรัม ต่อต้น (สำหรับไม่ผลอายุ 6-7 ปี ขึ้นไป หรือมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 7-8 เมตรขึ้นไป) และพ่นดินหรือราดดินตามด้วยแบล็กเอิร์ธ โพแทสเซียมฮิวเมท อัตรา 300-500 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร

        การพ่นทางใบเร่งใบแก่เร็วขึ้น​ โดยใช้อัตรา​ 200 กรัม​ ต่อน้ำ​ 200 ลิตร​ พ่นร่วมกับปุ๋ยเกล็ดดวงตะวันเพชร​ 0-52-34​ (สูตร G-grade) อัตรา 250-300 กรัม และปุ๋ยเกล็ดดวงตะวันเพชร​ 0-0-50 (สูตร G-grade) อัตรา 500 กรัม พ่นเมื่อใบเริ่มคลี่กาง​ ทุก​ 4-7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

        การเปลี่ยนสีใบจากสีเขียวอ่อนของระยะใบอ่อน-เพสลาด เป็น ใบแก่สีเขียวเข้ม คือการเพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์ โดยสีเขียวที่เรามองเห็นก็คือคลอโรฟิลล์นั้นเอง เมื่อคลอโรฟิลล์มีมากก็จะเห็นเป็นสีเขียวเข้ม

        โครงสร้างหลักของคลอโรฟิลล์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนหัวและส่วนหาง ซึ่งส่วนหัวตรงใจกลางจะเป็นการเข้าคู่กันของแมกนีเซียมกับไนโตรเจนในสัดส่วน แมกนีเซียม 1 ต่อ 4 ไนโตรเจน และใช้ส่วนหางยึดจับกับเยื้อหุ้มไทลาคอยด์ ภายในคลอโรพลาสต์ของอวัยวะระดับเซลล์พืช ดังนั้น แมกนีเซียมไนเตรท ดวงตะวันเพชร จึงส่งเสริมให้ใบแก่เร็วขึ้นได้ดี

แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต​

แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต​ ; สูตรโครงสร้าง MgSO₄•7H₂O

        แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต ดวงตะวันเพชร เป็นแมกนีเซียม​ซัลเฟตชนิดเม็ดเกล็ดละลายน้ำ สูตร G-grade​ (คนละชนิดกับปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตที่ใช้หว่านทางดิน)

        ถอดความปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต ​ดวงตะวันเพชร คือปุ๋ย​แมกนีเซียม​ซัลเฟตที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 7 โมเลกุล​ (magnesium sulphate heptahydrate) ดังนี้

        เฮพตะ​ หรือบางครั้งออกเสียงว่า​ เฮปตะ (hapta) หมายถึง​ จำนวน​ 7​

        ไฮเดรต​ (hydrate) หรือ​ ไฮโดร​ หมายถึง เกี่ยวกับ​น้ำ​ หรือมีน้ำเป็นส่วนประกอบ

        ฉนั้น ​เฮพตะไฮเดรต​ จะเท่ากับ​มี น้ำ​ 7 โมเลกุล ในโครงสร้างแมกนีเซียมซัลเฟต สูตรโครงสร้าง คือ MgSO₄•7H₂O

        Mg ย่อมาจาก แมกนีเซียม

        SO₄ คือ ซัลเฟต ประกอบด้วยกำมะถัน 1 (S) และออกซิเจน 4 (O₄)

        H₂O คือโครงสร้างเคมีของน้ำ โดยมีเลข 7 กำกับด้านหน้าจะหมายถึง มีน้ำ 7 โมเลกุล (7H₂O)

        ฉลากบนกระสอบปุ๋ยจะระบุเปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียมที่​เป็นประโยชน์ (Mg)​ 9% หรือบางครั้งอาจยังพบเห็นระบุเป็น แมกนีเซียม​ออกไซด์​ (MgO) 16% และมีกำมะถันหรือซัลเฟอร์​ ในรูปซัลเฟต​ (SO₄)​ 12%

        ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต ​จะไม่มีไนโตรเจน ดังนั้น​ สำหรับท่านที่กังวลเรื่องไนโตรเจนจะส่งผลให้แตกใบอ่อน​ แมกนีเซียม​ซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต ​ดวงตะวันเพชร จึงเป็นคำตอบ​ อีกทั้งยังได้​ซัลเฟต​ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโนพืชหลายชนิด

        การใช้พ่นเร่งใบแก่เร็วด้วย แมกนีเซียม​ซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต ​ดวงตะวันเพชร ใช้อัตรา 200-300 กรัม​ ต่อน้ำ​ 200 ลิตร​ โดยพ่นร่วมกับปุ๋ยเกล็ดดวงตะวันเพชร​ 0-52-34​ (สูตร G-grade) อัตรา 250-300 กรัม และปุ๋ยเกล็ดดวงตะวันเพชร​ 0-0-50 (สูตร G-grade) อัตรา 500 กรัม พ่นเมื่อใบเริ่มคลี่กาง​ ทุก​ 4-7 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

        แมกนีเซียม​ซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต ​ดวงตะวันเพชร มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ดีเกลือฝรั่ง”

ปุ๋ยแมกนีเซียมคีเลต ; Mg-chelating

ปุ๋ยแมกนีเซียมคีเลต ; Mg-chelating

        ไฮโดรเมทแมกนีเซียมคีเลต ดวงตะวันเพชร เป็นปุ๋ยธาตุรองในรูปคีเลต-อีดีทีเอ แท้ 100% (Mg-EDTA) มีแมกนีเซียม 6%

        คีเลตแท้ 100% คำตอบการการผสมปุ๋ยพ่นทางใบและปุ๋ยระบบน้ำ เสริมแมกนีเซียมธาตุอาหารพืช แก้ไขการขาดธาตุเร่งด่วน เร่งใบแก่เพิ่มใบเขียวเข้ม และเพิ่มการสังเคราะห์แสงของพืช

        คำตอบของการผสมปุ๋ยพ่นทางใบ เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยฟอสฟอรัสหรือฟอสเฟต: ไฮโดรเมทแมกนีเซียมในรูปคีเลต ช่วยลดปัญหาการตกตะกอนของธาตุระหว่างแมกนีเซียมกับฟอสฟอรัส เมื่อผสมร่วมกันในถังพ่นยาหรือป้องกันการเกิดคราบขาวที่ใบ ดอกและผลหลังพ่น อีกทั้งยังช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารทั้ง 2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (คราบขาวที่เกิดขึ้นพืชไม่สามารถนำไปใช้ได้หรือดูดซึมได้)

        นอกจากนี้ การใช้ไฮโดรเมทแคลเซียม-อีดีทีเอ 9% ทดแทนการใช้ปุ๋ยแคลเซียมโบรอน เมื่อต้องผสมร่วมกับปุ๋ยฟอสฟอรัส ก็ช่วยป้องกันการตกตะกอนและเกิดคราบเช่นกัน

        ไฮโดรเมทแมกนีเซียมคีเลต ดวงตะวันเพชร อัตราใช้ 150-200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช พ่นเร่งใบแก่ พ่นสะสมอาหาร โดยผสมร่วมกับปุ๋ยหรืออาหารเสริมอื่นๆ ร่วมด้วย (เช่นเดียวกับแมกนีเซียมก่อนหน้า)

กลไกออกฤทธิ์ (Mode of Action) ของยากลุ่ม 19 ทำให้ไรเกิดอาการตื่นตัว ใจเต้นแรง สั่นและความดันขึ้นสูง
By Thirasak Chuchoet April 29, 2025
กลไกออกฤทธิ์ (Mode of Action) ของยากลุ่ม 19 ทำให้ไรเกิดอาการตื่นตัว ใจเต้นแรง สั่นและความดันขึ้นสูงจนนำไปสู่อาการชักกระตุก เป็นอัมพาตและลาโลกแบบไม่สมัครใจ คล้ายเสพยากระตุ้นประสาทเกินขนาด
    ATP: Adenosine Triphosphate เป็นสารชีวเคมีที่กักเก็บและปลดปล่อยให้พลังงานสูงที่สำคัญต่อพืช
By Thirasak Chuchoet April 25, 2025
ATP หรือ “เอทีพี” ย่อมาจาก อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate) เป็นสารชีวเคมีที่กักเก็บและปลดปล่อยให้พลังงานสูงที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชทุกชนิด
แจกสูตร ผสมปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบโดยใช้แม่ปุ๋ยดวงตะวันเพชร สูตรสะสมอาหารก่อนเปิดตาดอกและสูตรเบรกใบอ่อน
By Thirasak Chuchoet April 23, 2025
แจกสูตร.!! ผสมปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบโดยใช้แม่ปุ๋ยดวงตะวันเพชร สูตรสะสมอาหารก่อนเปิดตาดอก และสูตรเบรกใบอ่อน-บล็อกใบอ่อน
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
By Thirasak Chuchoet April 21, 2025
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
More Posts