แมลงหวี่ขาวส้ม​ (Citrus whitefly) ระบาดในมะนาว.!!

Thirasak Chuchoet • June 7, 2024
แมลงหวี่ขาวส้ม​ (Citrus whitefly) ระบาดในมะนาว.!!

   แมลงหวี่ขาวส้ม​ ชื่อสามัญ  Citrus whitefly มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Dialeurodes citri (Asmead) เป็นแมลงปากดูดที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช มีพืชอาหารหลักเป็นพืชตระกูลส้ม-มะนาว ในประเทศไทยพบมากในมะนาว มะกรูด ส้มโอ เป็นแมลงในอันดับเฮมิพเทอร่า (O.Hemiptera) วงศ์อัลเลย์โรไดดี้ (Aleyrodidae)​ 

    ในต่างประเทศมีรายงานพบแมลงหวี่ขาวอีกหลายชนิดที่เป็นศัตรูส้ม-มะนาว เช่น​ แมลงหวี่ขาวสีดำ  Aleurocanthus spiniferus (Quaintance), แมลงหวี่ดำส้ม  Aleurocanthus woglumi (Ashby),  Acaudaleyrodes rachipora (Singh),  Aleurodicus disperses (Russell),  Aleurodicus dugesii (Cockerell),  Aleurothrixus floccosus (Maskell),  Orchamoplatus mammaeferus (Quaintance & Baker),  Parabemisia myricae (Kuwana) และ  Paraleyrodes pseudonaranjae (Martin)

    สำหรับประเทศไทยมีรายงานแมลงหวี่ขาวเป็นศัตรูพืชในส้ม-มะนาว 4 ชนิด คือ แมลงหวี่ขาวส้ม (D. citri), แมลงหวี่ขาวสีดำ (A. spiniferus), แมลงหวี่ดำส้ม (A. woglumi) แมลงหวี่ขาวใยเกลียว (A. disperses) ซึ่งพบบางเป็นครั้งคราว​ ส่วนใหญ่พบในมะนาวและมะกรูด แต่ด้วยช่วงปลายปี 2566 - ต้นเดือน มิ.ย. 2567 สภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งต่อเนื่อง อาจทำให้พืชอาหารตามธรรมชาติของแมลงหวี่ขาวไม่สมบูรณ์ หรือส่งเสริมการเพิ่มจำนวนและแพร่ระบาดของแมลงหวี่ขาว

    แม้แมลงหวี่ขาวส้มยังไม่มีรายงานการดื้อยา​ และอายุของชั่วรุ่นหนึ่งไม่สั้นเท่าแมลงหวี่ขาวยาสูบและแมลงหวี่ขาวโรงเรือน ​แต่ควรเฝ้าระวังและกำจัดเมื่อพบการเข้าทำลาย ดังนี้

    เมื่อพบการระบาดพ่นด้วย ไพริฟรอกซิเฟน​ 10% (กลุ่ม 7C) + ไบเฟนทริน​ 10% (กลุ่ม 3A) อัตราอย่างละ​ 30​ ซีซี. ต่อน้ำ 20​ ลิตร​ หรือ ไพริฟรอกซิเฟน​ 10% + โพรฟีโนฟอส​ 50% (กลุ่ม 1B) อัตราอย่างละ​ 30​ ซีซี. ต่อน้ำ 20​ ลิตร​

    หรือ ไบเฟนทริน​ 10% หรือ​ โพรฟีโนฟอส​ 50% หรือ​ ไดเมโทเอต​ 50% อัตรา​ 30​ ซีซี​ + บูโพเฟซีน​ 40% (กลุ่ม 16) อัตรา​ 40​ ซีซี​ ต่อน้ำ​ 20​ ลิตร

    เลือกชุดใดชุดหนึ่งในการพ่น​ และแต่ละชุด พ่นต่อเนื่อง​ 2 ครั้ง​ ห่างกัน​ 5-7​ วัน​ หากยังพบแมลงหวี่ขาวหลงเหลืออยู่บ้าง​ อาจพ่นซ้ำด้วย​ ไพริดาเบน​ 20% อัตรา​ 30​ กรัม​ หรือโทลเฟนไพเรด​ 16% อัตรา​ 30-40​ ซีซี​  ต่อน้ำ​ 20​ ลิตร (ยากลุ่ม 21A)

*ถ้าเป็นแมลงหวี่ขาวยาสูบ/โรงเรือน​ โทลเฟนไพเรด​ 16% ต้องใช้อัตรา​ 50-60​ ซีซี ต่อน้ำ​ 20​ ลิตร

แหล่งสืบค้น:

    ณิลาวัฒน์ เผือกยอด.2563.วิทยานิพนธ์​ “การศึกษาศักยภาพของเชื้อราก่อโรคAschersonia spp. เพื่อการควบคุมแมลงหวี่ขาวส้ม​Dialeurodes citri (Asmead) (Hemiptera: Aleyrodidae) Potential of Entomopathogenic Fungi,Aschersonia spp. to Control Citrus Whitefly,Dialeurodes citri (Asmead) (Hemiptera: Aleyrodidae)”.หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขากีฏวิทยา​ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กลไกออกฤทธิ์ (Mode of Action) ของยากลุ่ม 19 ทำให้ไรเกิดอาการตื่นตัว ใจเต้นแรง สั่นและความดันขึ้นสูง
By Thirasak Chuchoet April 29, 2025
กลไกออกฤทธิ์ (Mode of Action) ของยากลุ่ม 19 ทำให้ไรเกิดอาการตื่นตัว ใจเต้นแรง สั่นและความดันขึ้นสูงจนนำไปสู่อาการชักกระตุก เป็นอัมพาตและลาโลกแบบไม่สมัครใจ คล้ายเสพยากระตุ้นประสาทเกินขนาด
    ATP: Adenosine Triphosphate เป็นสารชีวเคมีที่กักเก็บและปลดปล่อยให้พลังงานสูงที่สำคัญต่อพืช
By Thirasak Chuchoet April 25, 2025
ATP หรือ “เอทีพี” ย่อมาจาก อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate) เป็นสารชีวเคมีที่กักเก็บและปลดปล่อยให้พลังงานสูงที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชทุกชนิด
แจกสูตร ผสมปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบโดยใช้แม่ปุ๋ยดวงตะวันเพชร สูตรสะสมอาหารก่อนเปิดตาดอกและสูตรเบรกใบอ่อน
By Thirasak Chuchoet April 23, 2025
แจกสูตร.!! ผสมปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบโดยใช้แม่ปุ๋ยดวงตะวันเพชร สูตรสะสมอาหารก่อนเปิดตาดอก และสูตรเบรกใบอ่อน-บล็อกใบอ่อน
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.. ระหว่างแมกนีเซียมไนเตรท, แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต หรือแมกคีเลต
By Thirasak Chuchoet April 22, 2025
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.. ระหว่างแมกนีเซียมไนเตรท, แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต หรือแมกนีเซียมคีเลต
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
By Thirasak Chuchoet April 21, 2025
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
More Posts