แมลงบั่วมะม่วงโอกินาวา.. ภัยร้ายที่อาจหลงคิดว่าเป็นโรคแอนแทรคโนส

Thirasak Chuchoet • October 22, 2024
แมลงบั่วมะม่วงโอกินาวา.. ภัยร้ายที่อาจหลงคิดว่าเป็นโรคแอนแทรคโนส
ทำความรู้จักกับศัตรูพืชชนิดใหม่

   นอกจากบั่วปมมะม่วง (Mango gall midge ;Procontarinia matteiana) ที่เป็นศัตรูพืชของมะม่วงแล้ว ในช่วง 4-5 หลายปีนี้ประเทศไทยเริ่มมีรายงานแมลงบั่วในมะม่วงชนิดใหม่ของบ้านเรา แต่ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่น เกาะกวม ต่างรายงานถึงบั่วชนิดนี้นานกว่า 20 ปี ในญี่ปุ่นมีชื่อสามัญว่า “Okinawa Mango gall midge” แปลเป็นไทยได้ว่า “แมลงบั่วมะม่วงโอกินาวา”

    เท่าที่พบในไทย และจากรายงานในญี่ปุ่น หรือเกาะกวม บั่วมะม่วงโอกินาวา เข้าทำลายใบอ่อนถึงระยะใบพวง (ใบเพสลาด) ของมะม่วง ทำให้เกิดจุดช้ำ เป็นวงค่อนข้างกลม ต่อมาจุดช้ำจะบุ๋มลงเข้าไปในเนื้อใบ และเริ่มเปลี่ยนเป็นแผลช้ำสีดำ บางจุดตรงกลางกลางแผลจะทะลุเป็นรูโบ๋ หากถูกทำลายรุนแรงใบจะร่วงหล่น

แมลงบั่วมะม่วงโอกินาวา (Okinawa Mango gall midge)

   แมลงบั่วมะม่วงโอกินาวา (Okinawa Mango gall midge) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Procontarinia mangicola (Shi) อยู่ในจีนัสเดียวกับบั่วปมมะม่วง และอยู่วงศ์ Cecidomyiidae อันดับ Diptera มีชื้อพ้อง (Syn.) คือ Procontarinia schreineri Harris เป็นศัตรูพืชในมะม่วงที่มีรูปร่างคล้ายยุง โดยตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเหลือง วัยที่เป็นศัตรูพืชที่สำคัญคือ ระยะวัยตัวหนอน (instar)

    แม้ในประเทศไทยเริ่มมีการรายงานบั่วชนิดนี้เมื่อไม่นานมานี้ แต่ตัวอย่างภาพบางภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2557 กว่า 7 ปีมาแล้ว ส่วนภาพอื่นๆ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2562 ที่ จ.กาญจนบุรี ในมะม่วงพันธุ์ R2E2

    จากลักษณะแผลที่เกิดจากการทำลายของบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส สาเหตุจากเชื้อ Colletotrichum gloeosporioides ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกันแต่มีความแตกต่างกัน

ลักษณะอาการใบที่ถูกทำลาย

    ใบมะม่วงที่ถูกทำลายส่วนใหญ่จะพบในใบอ่อนจนถึงระยะใบพวง (ใบเพสลาด) ในระยะแรกเมื่อใบถูกทำลายจะเป็นจุดกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ราว 2-4 มิลลิเมตร มีสีซีดเหลือง ตรงกลางแผลมีสีซีดมากกว่าขอบแผล จุดแผลนูนบวมขึ้นเล็กน้อย แผลด้านหลังใบลักษณะจุดบวบเช่นกัน

    ต่อมาจุดแผลดังกล่าวบริเวณหน้าใบจุบุ๋มเว้าลงเข้าใบในเนื้อใบ และเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลมีสีน้ำตาลดำเด่นชัดขึ้น และเริ่มเกิดรูโบ๋ในบางแผล ลักษณะแผลในระยะนี้เมื่อสังเกตุจะมีลักษณะคล้ายแผลที่เกิดจากน้ำร้อนลวกในลักษณะน้ำร้อนกระเด็นใส่เป็นจุดๆ

    เมื่อแผลมีอายุมากขึ้น แผลจะมีสีดำฉ่ำน้ำ บางแผลอาจมีจุดสีขาวอมเทา ตั้งแต่เริ่มเกิดแผลจุดจนถึงแผลเปลี่ยนสีอาจกินระยะเวลาสั้นๆ ราว 5-9 วัน ในระยะนี้แผลที่เปลี่ยนเป็นสีดำหรือเมื่อแผลแห้งและมีสีดำ จะแลดูคล้ายอาจการของโรคแอนแทรคโนส

    นอกจากนี้ การเข้าทำลายของบั่วมะม่วงโอกินาวาจะทำให้เกิดโรคซ้ำซ้อนได้ง่าย โดยเฉพาะโรคแอนแทรคโนส ที่เข้าทำลายซ้ำตรงแผลดังกล่าว

วงจรชีวิตของบั่วมะม่วงโอกินาวา

    เนื่องจากยังไม่พบเอกสารเกี่ยวกับวงจรชีวิตของบั่วมะม่วงโอกินาวา หากแต่อ้างอิงถึงวงจรชีวิตของบั่วปมมะม่วงได้ ซึ่งเป็นแมลงที่มีความใกล้ชิดทางชีววิทยามาก นอกจากนี้ K.M. Harris และ I.H. Schreiner (ค.ศ. 1992) รายงานว่า ระยะตัวหนอนของบั่วมะม่วงโอกินาวา มีการเจริญพัฒนาที่เร็วมาก โดยใช้เวลาเพียง 5 วัน หลังฟักออกจากไข่ ก่อนจะเข้าสู่ระยะพักและเข้าดักแด้

การป้องกันกำจัดบั่วมะม่วงโอกินาวา

    1. เมื่อพบใบที่เกิดตุ่มปมที่เกิดจากการเข้าทำลาย ควรตัดไปทำลาย

    2. พ่นสารกำจัดแมลงเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง เช่น 

       สารกำจัดแมลง กลุ่ม 6 : อีมาแมกติน 1.92% (เช่น แพ็คกิ้งอี, แพ็คติน, เอ็นนาโกร) อัตรา 20-30 ซีซี.

       สารกำจัดแมลง กลุ่ม 1B :ไดคลอร์วอส 50% (เช่น พีไซด์) อัตรา 30-40 ซีซี., ไตรอะโซฟอส 40% (เช่น แพ็คฟอส, เมอร์เล็ท) อัตรา 30 ซีซี., โพรฟีโนฟอส 50% (เช่น พีโป้, เอเจนต้า) อัตรา 30 ซีซี.

       สารกำจัดแมลง กลุ่ม 4A : อะซีทามิพริด 20% SP (เช่น แพ็คมอร์, แอ็กมิพริด) อัตรา 10-15 กรัม

       สารกำจัดแมลง กลุ่ม 15 : ลูเฟนนูรอน 5% อัตรา 20 ซีซี., โนวาลูรอน 5% อัตรา 20 ซีซี., หรือคลอร์ฟลูอะซูรอน และไดฟลูเบนซูรอน เป็นต้น

    *หมายเหตุ : อัตราแนะนำต่อน้ำ 20 ลิตร

แหล่งสืบค้น : 

    K.M. Harris and I.H. Schreiner. A new species of gall midge (Diptera: Cecidomyiidae) attacking mango foliage in Guam, with observations on its pest status and biology. Bulletin of Entomological Research , Volume 82 , Issue 1 , March 1992 , pp. 41 - 48.

    M. Q. Memon, A. G. Lanjar, M. K. Lohar, M. A. Rustamani, A. Bukero, G. M. Khushk, A. W. Solangi and N. A. Khuhro. THE BIOLOGY OF MANGO LEAF GALL MIDGE, PROCONTARINIA MATTIENA KIEFFER AND CECCONI (DIPTERA: CECIDOMYIIDAE). Sci.Int.(Lahore),29(1),p. 267-269,2017

    N. Uechi, F. Kawamura,  J. Yukawa. “A mango pest, Procontarinia mangicola (Shi) comb. nov. (Diptera: Cecidomyiidae), recently found in Okinawa, Japan”. Published 1 November 2002. Biology, Environmental Science. Applied Entomology and Zoology. DOI:10.1303/AEZ.2002.589

    Waqar Ahmed, Muhammad Azher Nawaz, Basharat Ali Saleem, Muhammad Asim .INCIDENCE OF MANGO MIDGE AND ITS CONTROL IN DIFFERENT MANGO GROWING COUNTRIES OF THE WORLD. 20th to 23rd June, 2005. Conference: First International Conference on Mango and Date palm At: Institute of Horticultural Sciences University of Agriculture, Faisalabad- Pakistan.

กลไกออกฤทธิ์ (Mode of Action) ของยากลุ่ม 19 ทำให้ไรเกิดอาการตื่นตัว ใจเต้นแรง สั่นและความดันขึ้นสูง
By Thirasak Chuchoet April 29, 2025
กลไกออกฤทธิ์ (Mode of Action) ของยากลุ่ม 19 ทำให้ไรเกิดอาการตื่นตัว ใจเต้นแรง สั่นและความดันขึ้นสูงจนนำไปสู่อาการชักกระตุก เป็นอัมพาตและลาโลกแบบไม่สมัครใจ คล้ายเสพยากระตุ้นประสาทเกินขนาด
    ATP: Adenosine Triphosphate เป็นสารชีวเคมีที่กักเก็บและปลดปล่อยให้พลังงานสูงที่สำคัญต่อพืช
By Thirasak Chuchoet April 25, 2025
ATP หรือ “เอทีพี” ย่อมาจาก อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate) เป็นสารชีวเคมีที่กักเก็บและปลดปล่อยให้พลังงานสูงที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชทุกชนิด
แจกสูตร ผสมปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบโดยใช้แม่ปุ๋ยดวงตะวันเพชร สูตรสะสมอาหารก่อนเปิดตาดอกและสูตรเบรกใบอ่อน
By Thirasak Chuchoet April 23, 2025
แจกสูตร.!! ผสมปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบโดยใช้แม่ปุ๋ยดวงตะวันเพชร สูตรสะสมอาหารก่อนเปิดตาดอก และสูตรเบรกใบอ่อน-บล็อกใบอ่อน
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.. ระหว่างแมกนีเซียมไนเตรท, แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต หรือแมกคีเลต
By Thirasak Chuchoet April 22, 2025
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.. ระหว่างแมกนีเซียมไนเตรท, แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต หรือแมกนีเซียมคีเลต
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
By Thirasak Chuchoet April 21, 2025
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง มีเพลี้ยเป็นพาหะและติดต่อผ่านการสัมผัส
By Thirasak Chuchoet October 7, 2024
โรคไวรัสวงแหวนมะละกอเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง การป้องกันแมลงพาหะและการจัดการด้วยวิธีผสมผสานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสียหาย [การกำจัดแมลงพาหะ ห้าม!! ใช้คลอฟีนาเพอร์]
More Posts