โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย

Thirasak Chuchoet • May 28, 2024
โรคใบจุดสนิม /โรคจุดสาหร่าย

    โรคใบจุดสนิม หรือใบจุดสาหร่าย (algal spot) ไม่ได้เกิดจากเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคพืช​แต่เกิดจากสาหร่ายสีเขียวกึ่งบก ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปและเรียกชื่อเป็น"โรค คือ โรคใบจุดสนิม หรือโรคใบจุดสาหร่าย" ซึ่งสามารถเรียกได้ทั้ง 2 แบบ 

   สาเหตุ: สาหร่ายกึ่งบกสีเขียว 

   ชื่อวิทยาศาสตร์: ซีฟาลิวรอส ไวเรสเซนซ์ (Cephaleuros virescens Kunze) 

   วงศ์: Trentepohliaceae

   อันดับ: Trentepohliales

    สาหร่ายสีเขียวจัดเป็นสาหร่ายปรสิต มีลำดับอนุกรมวิธานอยู่ในเป็นสาหร่ายที่อาศัยอยู่กึ่งบนบก (subaerial) ประกอบไปด้วยเส้นใย (filamentous cells) เป็นสายยาวหรือแตกแขนง (ramulus) และรวมตัวเป็นเนื้อเยื่อทัลลัส (thallus) สาหร่ายสกุลนี้พบบนพืชอาศัยบริเวณใบ กิ่ง หรือผล​ ในไม้ยืนต้นและไม้ผลเกือบทุกชนิด

    สาหร่ายสีเขียว (ปรสิตพืช) เจริญอยู่ภายในชั้นคิวติเคิล ​อยู่ระหว่างชั้นอิพิเดอมิสและชั้นไขเคลือบผิ​วของพืช ไม่เจริญเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อพืช แม้จะไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อพืชมากนัก แต่ก็มีผลเสียต่ออยู่บ้าง เช่น สาหร่ายปรสิตจะอาศัยน้ำและแร่ธาตุอาหารจากพืช หลั่งสารทุติยภูมิที่เป็นพิษ สูญเสียพื้นที่สังเคราะห์ด้วยแสงเป็นผลจากการบดบังของสาหร่ายปรสิต และทำให้ใบพืชมีอายุขัยใบสั้นลงกว่าปกติ

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย: จุดนูนสีขาวอมเทาและจุดสีน้ำตาลแดง

ตรงกลางจุดนูนที่เทามีสีเขียว ซึ้งเป็นระยะที่สาหร่ายกึ่งบกใช้แสงเพื่อการเจริญเติบโต

ลักษณะการเจริญของเส้นใยในระยะที่โรคจุดสาหร่ายเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ลักษณะการทำลาย

    อาการเริ่มแรกของโรคใบจุดสนิม /ใบจุดสาหร่าย จะเป็นจุดเล็กๆ นูนขึ้นเล็กน้อย มีสีขาวปนเทา จุดเล็กๆ เหล่านี้จะขยายใหญ่ขึ้นในสภาพความชื้นสูงและได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ เมื่อสาหร่ายแก่ขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวก่อน ระยะนี้จะต้องการแสงแดดในการดำรงชีวิต ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง (สีสนิม) เป็นระยะของการเกิดสปอร์หรือระยะขยายพันธุ์ ลักษณะเป็นขุยคล้ายกำมะหยี่สาหร่ายสีเขียวมีโครงสร้างเป็นเส้นใยยาวคล้ายเซลล์พืช เรียงต่อกันเป็นเส้นใยติดกันหลายเส้น ลักษณะของเส้นใยมีการเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ มีการแตกแขนงของเซลล์เจริญแผ่ออกจากจุดศูนย์กลางประกอบขึ้นเป็นเนื้อเยื่อเทียม ลักษณะจุดค่อนข้างกลม

    การสืบพันธ์ มี 2 แบบ คือ 

    1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (sporangia) สาหร่ายปรสิต​จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศซูโอสปอร์ (zoospore) บนก้านชูสปอร์ (sporaniophores) ที่อยู่ด้านบนทัลลัส การขยายพันธุ์สปอร์จะแพร่ไปตามลมและฝน 

    2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (gametangia) พบส่วนขยายพันธุ์​นี้ กระจายอยู่ในทัลลัส มีลักษณะเป็นถุงค่อนข้างกลม ยาว 25-50 ไมครอน และกว้าง 17.5-35 ไมครอน พบอยู่แบบเดี่ยวๆ ในทัลลัสหรือใต้ทัลลัส มีสีเหลืองจนถึงสีส้มสด

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย บนใบทุเรียนระยะที่มีการแพร่กระจายของสปอร์สืบพันธุ์

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย ที่มีไลเคนเจริญอยู่ด้วย (คราบสีเขียว) แสดงถึงความชื้นในสวนที่มีมาก

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย บนใบทุเรียน

การแพร่ระบาด

    แพร่ระบาดมากในช่วงฤดูฝนหรือแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง ทรงพุ่มหนาทึบ มักเริ่มจากใบเก่าของฤดูกาลก่อนหรือใบแก่ที่อยู่ในทรงพุ่มด้านใน สาหร่ายจะบดบังพื้นที่ใบสำหรับใช้ในการสังเคราะห์แสงและใบร่วงหล่นก่อนกำหนด ถ้าสาหร่ายขึ้นตามกิ่งจะสร้างรากเทียมชอนไชเข้าไปในเปลือก​ ทำให้กิ่งทรุดโทรม

การป้องกันกำจัด 

    หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดแต่งจัดทรงพุ่มและตัดแต่งกิ่งแขนงภายในทรงพุ่มออก เพื่อให้อากาศถ่ายเท ลดความชื้นภายในทรงพุ่มและให้แสงส่องถึง (ไม่ควรตัดแต่งกิ่งจนโล่งเกินไป) หลังจากนั้นจึงพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ด้วย กลุ่มสารประกอบคอปเปอร์​ (กลุ่ม M01) ​ เช่น​ คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77%,​ คอปเปอร์​ออกซี่คลอไรด์​ 85%, คอปเปอร์​ออกซี่คลอไรด์​ 24.6%+คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 22.9%,​ คอปเปอร์​ซัลเฟต​ (ไตรเบสิค) 34.5%,​ คิวปรัสออกไซด์ 86.2%, ​ หรือบอร์โดมิกซ์เจอร์ 33.7% อัตรา 50-60 กรัม (หรือ ซีซี) ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรผสมสารจับใบหรือสารลดแรง​ตรึง​ผิว​ร่วมด้วย พ่นอย่างน้อย 2-3​ ครั้ง ห่างกัน ทุก 7-10​ วัน 

    เมื่อเข้าฤดูฝนใหม่ๆ และหลังฤดูฝน พ่นป้องกันและกำจัดตามคำแนะนำข้างต้น 1-2 ครั้ง เพื่อลดการแพร่ระบาด

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย บนใบมะม่วง

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย บนใบมะนาว

โรคใบจุดสนิม/ใบจุดสาหร่าย บนใบพืชตระกูลส้ม-มะนาว

แหล่งสืบค้น:

  นราสินี ถี่ถ้วน และอนุรักษ์ สันป่าเป้า.Cephaleuros virescens complex สาเหตุโรคจุดสาหร่ายในพืชอาศัยจำปีและจำปีสิรินธร.แก่นเกษตร 44 ฉบับพิเศษ 1 : (2559).หน้า 911-917.

  นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคไม้ผลเขตร้อนและการป้องกันกำจัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 172 หน้า.

  ยงยุทธ ธำรงนิมิต.2553.โรคไม้ผล.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ.เกษตรสยามบุ๊คส์.136 หน้า.

กลไกออกฤทธิ์ (Mode of Action) ของยากลุ่ม 19 ทำให้ไรเกิดอาการตื่นตัว ใจเต้นแรง สั่นและความดันขึ้นสูง
By Thirasak Chuchoet April 29, 2025
กลไกออกฤทธิ์ (Mode of Action) ของยากลุ่ม 19 ทำให้ไรเกิดอาการตื่นตัว ใจเต้นแรง สั่นและความดันขึ้นสูงจนนำไปสู่อาการชักกระตุก เป็นอัมพาตและลาโลกแบบไม่สมัครใจ คล้ายเสพยากระตุ้นประสาทเกินขนาด
    ATP: Adenosine Triphosphate เป็นสารชีวเคมีที่กักเก็บและปลดปล่อยให้พลังงานสูงที่สำคัญต่อพืช
By Thirasak Chuchoet April 25, 2025
ATP หรือ “เอทีพี” ย่อมาจาก อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate) เป็นสารชีวเคมีที่กักเก็บและปลดปล่อยให้พลังงานสูงที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชทุกชนิด
แจกสูตร ผสมปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบโดยใช้แม่ปุ๋ยดวงตะวันเพชร สูตรสะสมอาหารก่อนเปิดตาดอกและสูตรเบรกใบอ่อน
By Thirasak Chuchoet April 23, 2025
แจกสูตร.!! ผสมปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบโดยใช้แม่ปุ๋ยดวงตะวันเพชร สูตรสะสมอาหารก่อนเปิดตาดอก และสูตรเบรกใบอ่อน-บล็อกใบอ่อน
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.. ระหว่างแมกนีเซียมไนเตรท, แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต หรือแมกคีเลต
By Thirasak Chuchoet April 22, 2025
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.. ระหว่างแมกนีเซียมไนเตรท, แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต หรือแมกนีเซียมคีเลต
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
By Thirasak Chuchoet April 21, 2025
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
More Posts