รากพืชไม่ได้ดูดน้ำ.. แต่น้ำแพร่เข้าสู่รากพืชเอง.!!

Thirasak Chuchoet • May 10, 2024
รากพืชไม่ได้ดูดน้ำ.. แต่น้ำแพร่เข้าสู่รากพืชเอง.!!

    น้ำที่แพร่เข้าสู่รากพืชนั้นโดยธรรมชาติแล้วจะมีธาตุต่างๆ​ ละลายเจือปน​ไปกับน้ำด้วยเสมอ​ ทั้งธาตุอาหารพืช​ (ปุ๋ย)​ และธาตุอื่นๆ​ รวมถึงธาตุบางธาตุที่เป็นพิษต่อพืช​ เช่น​ อะลูมินั่ม​ (Al3+)​ การ​แพร่ของน้ำในดินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง​หรือจากรอบบริเวณเขตรากแพร่เข้าสู่รากพืชนั้น​ เกิดจากความต่างศักย์ของ​ค่า water potential (WP) ของน้ำ​ 

"เมื่อ​ น้ำกลั่นหรือน้ำบริสุทธิ์​ มีค่า WP​ เท่ากับ 0 บาร์​ ส่วนน้ำที่มีสิ่งเจือปน​ค่า WP จะติดลบ​ ยิ่งมีสิ่งเจือปนมากขึ้นค่าจะยิ่งติดลบมากขึ้น​ สิ่งเจือปน เช่น​ สารอินทรีย์​ กรดฮิวมิค​ กรดฟลูวิก​ หรือธาตุต่างๆ​"

    การแพร่ของน้ำ​ เป็นการแพร่ออกไปแบบไม่มีทิศทาง​โดยแพร่จากบริเวณที่มีค่า WP ติดลบน้อยไปสู่บริเวณที่มีค่าติดลบสูง​กว่า​ หรือจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารเจือปนต่ำไปสู่ที่มีความเข้มข้นสูงกว่า​ โดยปกติแล้วน้ำที่อยู่ในดินจะมีค่า WP เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา​ แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะมีค่า WP ราว​ -​0.05 บาร์​ น้ำภายในรากพืชปกติจะมีค่า WP เท่ากับ​ -​2.00 บาร์​ และใบพืช​ -​4.00 ถึง​ -​15.00 บาร์​ ยกเว้นกรณีหว่านปุ๋ยอัตราสูงและรดน้ำน้อยหรือดินขาดน้ำ

ดังนั้น​ น้ำในดินจึงแพร่เข้าสู่เซลล์ขนรากโดยอาศัยหลักการแพร่ของน้ำ มิใช่เกิดจากการดูดน้ำของพืช

    น้ำแพร่เข้าสู่ภายในรากผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ไปตามผนังเซลล์​แล้วเข้าสู่ท่อลำเลี้ยงน้ำ​ เรียก​การแพร่ผ่านช่องว่างนี้ ว่า ​"วิถีอะโพพลาสต์​ (apoplast​ pathway)"

    ส่วน​​น้ำที่แพร่เข้าสู่ภายในเซลล์ของรากพืชผ่านเยื้อหุ้มเซลล์​ เป็นการเข้าสู่เซลล์ในลักษณะ​ออสโมซีส​ หลังจากนั้นจึงแพร่ผ่านเซลล์ถัดไปตามรูที่เชื่อมต่อกันของเซลล์จนเข้าสู่ท่อลำเลี้ยงน้ำ​ เรียกการแพร่ลักษณะ​นี้ ว่า ​"วิถีซิมพลาสต์​ (symplast pathway)"

    พืชขาดน้ำ​หรือที่กล่าวกันว่า​ "รากไม่ดูดน้ำ" จะเกิดขึ้นได้อยู่​ 2 สาเหตุ

     1. รากเสียหาย​จากการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า หรือรากขาดจากกรณีอื่นๆ

     2. ดินขาดน้ำ

แหล่งสืบค้น:

    ลิลลี่ กาวีต๊ะ และคณะ.2560.สรีรวิทยาของพืช.พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.270 หน้า.

    สมบุญ เตชัภิญญาวัฒน์.ไม่ทราบปีที่พิมพ์.สรีรวิทยาของพืช.ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.237 หน้า.

กลไกออกฤทธิ์ (Mode of Action) ของยากลุ่ม 19 ทำให้ไรเกิดอาการตื่นตัว ใจเต้นแรง สั่นและความดันขึ้นสูง
By Thirasak Chuchoet April 29, 2025
กลไกออกฤทธิ์ (Mode of Action) ของยากลุ่ม 19 ทำให้ไรเกิดอาการตื่นตัว ใจเต้นแรง สั่นและความดันขึ้นสูงจนนำไปสู่อาการชักกระตุก เป็นอัมพาตและลาโลกแบบไม่สมัครใจ คล้ายเสพยากระตุ้นประสาทเกินขนาด
    ATP: Adenosine Triphosphate เป็นสารชีวเคมีที่กักเก็บและปลดปล่อยให้พลังงานสูงที่สำคัญต่อพืช
By Thirasak Chuchoet April 25, 2025
ATP หรือ “เอทีพี” ย่อมาจาก อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate) เป็นสารชีวเคมีที่กักเก็บและปลดปล่อยให้พลังงานสูงที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชทุกชนิด
แจกสูตร ผสมปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบโดยใช้แม่ปุ๋ยดวงตะวันเพชร สูตรสะสมอาหารก่อนเปิดตาดอกและสูตรเบรกใบอ่อน
By Thirasak Chuchoet April 23, 2025
แจกสูตร.!! ผสมปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบโดยใช้แม่ปุ๋ยดวงตะวันเพชร สูตรสะสมอาหารก่อนเปิดตาดอก และสูตรเบรกใบอ่อน-บล็อกใบอ่อน
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.. ระหว่างแมกนีเซียมไนเตรท, แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต หรือแมกคีเลต
By Thirasak Chuchoet April 22, 2025
เลือกใช้แมกนีเซียม (Mg) ตัวไหนดี.. ระหว่างแมกนีเซียมไนเตรท, แมกนีเซียมซัลเฟตเฮพตะไฮเดรต หรือแมกนีเซียมคีเลต
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
By Thirasak Chuchoet April 21, 2025
ปุ๋ยแคลเซียมคลอไรด์ไม่ใช่ปุ๋ยร้อน ดั่งการอุปมาอุปไมยเป็นยาร้อน-ยาเย็น
เอกสาร
By Thirasak Chuchoet January 4, 2025
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย "การดูดซึมปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบ"
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของการเจริญเติบโต
By Thirasak Chuchoet December 3, 2024
ปฏิสัมพันธ์ของธาตุอาหารพืช แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชในแง่ของผลกระทบที่ธาตุอาหารมีผลต่อการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ของพืชในกระบวนการเจริญเติบโต
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ พืชขาดน้ำ พืชขาดธาตุ ธาตุเป็นพิษ ดินเสีย
By Thirasak Chuchoet November 9, 2024
ผลกระทบของดินเค็มและน้ำเค็ม คือ 1) ทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตลดลง 2) พืชขาดธาตุบางชนิดหรือธาตุเป็นพิษ​ และ​ 3) ผลกระทบต่อโครงสร้างดิน​ กายภาพของดินเลวลง รากชอนไชยาก
แผลจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
แผลที่เกิดจากบั่วมะม่วงโอกินาวาเมื่อแผลเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจทำให้เข้าใจว่าเกิดจากการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส ซึ่งมีลักษณะแผลที่คล้ายคลึงกัน
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแล
By Thirasak Chuchoet October 22, 2024
บั่วปมมะม่วง เป็นแมลงขนาดเล็กรูปร่างเหมือนยุง มีหนวดและขายาว ซึ่งพบได้บ่อยในมะม่วงที่ขาดการดูแลป้องกัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก-ติดผล
More Posts